Monthly Archives: November 2016

จักรวรรดิรัสเซีย

%e0%b8%98%e0%b8%87

%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%9c%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%99

เมื่อพูดถึงรัสเซีย หลายท่านก็รู้จัก และเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความน่าสนใจอยู่มาก ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยว รัสเซียเป็นประเทศที่มีเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอยู่มากครับ และในเรื่องราวของประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะประเทศไหนก็ตามจะมีเรื่องของผู้นำเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ย้อนกับไปในยุคของผู้นำท่านหนึ่งที่หลายท่านคงเคยได้ยินชื่อ และเราจะขอถือโอกาสนี้กล่าวถึงท่านกันครับ ท่านผู้นี้คือ จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย รัสเซีย

%e0%b9%80%e0%b8%8b%e0%b8%99%e0%b8%9b%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c

 

%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%88%e0%b8%b3%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b9%8c

รัชสมัยของซาร์ปีเตอร์มหาราชจัดเป็นยุคใหม่ในประวัติศาสตร์รัสเซีย ประวัติศาสตร์รัสเซียในสมัยนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า “สมัยจักรวรรดิรัสเซีย” เพราะองค์เจ้าซาร์เป็นผู้สร้างยุคของพระองค์ขึ้นพระองค์ทรงได้เป็นซาร์ตั้งแต่ยังมีพระชันษาเพียง 10 ชันษาเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2225 และในปีนั้นเองพระองค์ก็ต้องได้รับการแต่งตั้งใหม่ให้เป็นซาร์คู่กับพระเจ้าน้องยาเธอต่างพระราชมารดา คือ ซาร์อีวานที่ 5 แห่งรัสเซีย เมื่อซาร์อีวานที่ 5 สิ้นพระชนม์ ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 มหาราชจึงมีพระราชอำนาจโดยแท้จริง ในยุคของพระองค์ทรงขยายอาณาเขตรัสเซียออกไปทางตะวันออกถึงวลาดีวอสตอค และทรงใช้นโยบายสู้ตะวันตก ทรงนำรัสเซียเข้าสู่ยุคใหม่

%e0%b9%81%e0%b8%9c%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88

ต่อมาสมเด็จพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ด้านเศรษฐกิจ การปกครอง ศาสนา สังคม วัฒนธรรม การศึกษา ยังความเจริญแก่รัสเซียตราบจนถึงปัจจุบัน

%e0%b8%88%e0%b8%95%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%aa%e0%b9%81%e0%b8%94%e0%b8%87   %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%87

 

ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนในด้านเศรษฐกิจสมเด็จพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ทรงจัดระบบเศรษฐกิจของประเทศตามระบบพาณิชย์นิยมของตะวันตกโดยการห้ามนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ารัสเซีย และเร่งส่งเสริมอุตสาหกรรมต่างในประเทศ เช่น การผลิตอาวุธ สร้างโรงงานถลุงเหล็ก การทอผ้า การต่อเรือ รองเท้า สบู่ ฯลฯ อีกทั้งยังเปิดประเทศต้อนรับช่างผู้ชำนาญงานสาขาต่างๆ ให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและลงทุนในรัสเซีย ทรงจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมของรัฐเพื่อให้เอกชนดำเนินการ มีการเกณฑ์และบังคับแรงงานชาวไร่ ชาวนาให้ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนกระตุ้นให้พวกชุนนางลงทุนในด้านการค้า ในช่วงระยะเวลาเพียง 20 ปี ในกรุงมอสโกมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกิดขึ้น 200 แห่ง และขนาดเล็กมากกว่า 2500 แห่ง ทรงละเว้นภาษีแก่โรงงานอุตสาหกรรมเอกชน แต่ขณะเดียวกันก็ทรงเพิ่มรายได้แก่รัฐด้วยการจัดเก็บภาษีอื่นๆ ในอัตราที่สูงขึ้น

%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%9b%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c