Daily Archives: February, 2018

การเลือกประเภทพัดลมอุตสาหกรรม

การเลือกพัดลมอุตสาหกรรม ขั้นแรกให้เริ่มดูที่สถานที่ใช้งาน โดยจะแบ่งเป็น  2 ประเภท คือสถานที่อันตรายและ ไม่อันตราย ๖(hazardous or non-hazardous) พื้นที่ใดที่มีโอกาสจะติดไฟหรือระเบิดเนื่องจากมีวัสดุที่ติดไฟตามที่สถาบัน National Electric Code® (NEC) ของสหรัฐอเมริการะบุไว้ เช่น โรงงานปิโตรเคมี, ปั๊มน้ำมัน, โรงงานอุดตสาหกรรมบางประเภท เป็นต้น

ถ้า NEC กำหนดพื้นที่ไดไว้ว่าเป็นพื้นที่อันตราย อุปกรณ์เฉพาะจะต้องถูกใช้ พัดลมดูดอากาศสำหรับสถานที่อันตราย (Hazardous Type) จะต้องออกแบบให้ทำจากโครงสร้างกันการเกิดประกายไฟ ตัวพัดลมจะต้องควบคุมการเกิดประกายไฟ พัดลมอุตสาหกรรมประเภทนี้จะประกอบด้วยมอเตอร์กันระเบิด(explosion-proof motors) แต่ถึงแม้จะเรียกว่าพัดลมกันระเบิด แต่ไม่ได้หมายความว่ามอเตอร์ชนิดนี้จะไม่ระเบิด เพียงแต่ตัวมอเตอร์ทำจากโครงสร้างที่มีความแข็งแรงและเหนียวพอที่จะทำให้ตัวมอเตอร์ไม่แตกกระจายออกเมื่อเกิดการะเบิดขึ้นภายใน

สำหรับพัดลมอุตสาหกรรมแบบไม่ใช้ในสถานที่อันตราย คือพัดลมที่ใช้ในสถานที่ที่ไม่ถูกระบุไว้ว่าเป็นสถานที่อันตราย โดยโครงสร้างพัดลมชนิดนี้จะออกแบบโดยไม่เป็นแบบที่กันประกายไฟ การเลือกพัดลมทั้งสองประเภทจะขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่และตำแหน่งการติดตั้ง

ระบบการดูดอากาศพัดลมอุตสหกรรม

พัดลมสามารถแบ่งได้ตามระบบการดูดอากาศได้ดังนี้

พัดลมแบบดูดแนวตรง หรือ axial fan   มีอยู่ 3 ชนิดคือ Propeller Fan, Tubeaxial fan และ Vanaxial Fan

Propeller Fan หรือพัดลมระบายอากาศ ลักษณะของพัดลมชนิดนี้จะเหมือนพัดลมทั่วไป อาจประกอบด้วยใบพัด 1 หรือ 2 ใบพัด โดยพัดลมแบบนีจะสามารถทำให้อากาศเคลื่นที่ได้จำนวนมาก แต่แรงอัดอากาศจะน้อย

Tubeaxial Fan ลักษณะของพัดลมชนิดนี้จะมีขนาดท่อพัดลมค่อนข้างยาว แต่ขนาดใบพัดจะสั้นกว่าแบบ Propeller Fan พัดลมแบบนี้จะมีแรงอัดอากาศสูง สามารถควบคุมทิศทางลมได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือ ขนาดใหญ่และหนักมาก เคลื่อนย้ายได้ลำบาก

Vanaxial Fan เป็นพัดลมที่พัฒนามาจาก Tubeaxial Fan โดยจะมีช่วงท่อพัดลมที่สั้นกว่า แต่ใช้ใบพัดแบบพิเศษช่วยทำให้แรงดันอากาศที่สูงกว่า ทำให้พัดลมชนิดนี้เหมาะสมอย่างมากในการใช้ในสถานที่อับอากาศ