Category Archives: เรื่องของสินค้า

เครื่องแสกนลายนิ้วมือมีดีอย่างไร

เครื่องสแกนลายนิ้วมือกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากที่ผ่านมาเครื่องบันทึกเวลาประเภทต่างๆอาทิเช่น เครื่องตอกบัตร เครื่องรูดบัตร หรือแม้แต่เครื่องทาบบัตรเองก็ตาม ต่างพบกับปัญหาที่เหมือนกันนั่นก็คือ “การทุจริต”ในการบันทึกเวลาแทนกัน ซึ่งปัญหานี้แก้ยังไงก็ไม่หายเสียที ครั้นจะติดกล้องวงจรปิด หรือจ้างคนมาเฝ้าเพื่อนั่งจับผิดพนักงาน ก็จะยิ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายโดยใช้เหตุ ดังนั้นเมื่อคุณเปลี่ยนมาใช้“เครื่องสแกนลายนิ้วมือ” ปัญหาเหล่านี้จึงหมดไป

หลักการทำงานที่น่าสนใจของเครื่องสแกนลายนิ้วมือนั่นก็คือ การบันทึกลายนิ้วมือซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลพูดง่ายๆก็คือแต่ละคนจะมีลายนิ้วมือที่ไม่เหมือนกัน หากลองสังเกตดีๆที่ลายนิ้วมือของเราจะมีลักษณะเป็นก้นหอยซึ่งลวดลายเหล่านี้ จะถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูล และเมื่อเวลาเราใช้งานโดยการเอานิ้วมือทาบไปที่หัวอ่าน ซึ่งเป็นกระจกและมีลำแสงยิงออกมา เมื่อลำแสงตกกระทบกับเส้นลายนิ้วมือ ซึ่งหากตรงกับข้อมูลที่เก็บไว้ล่วงหน้า ข้อมูลก็จะถูกบันทึกนั่นเอง

เครื่องสแกนลายนิ้วมือนั้นเป็นที่นิยมสำหรับผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดย่อมอย่าง SMEs ไล่ไปจนถึงธุรกิจระดับชาติเลยทีเดียวนื่องจากเครื่องสแกนลายนิ้วมือนั้น เป็นระบบที่ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้รับนั้นคุ้มค่ามากเลยทีเดียว ไม่ว่าคุณจะเพิ่มพนักงานมากแค่ไหน ก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่อย่างใด แตกต่างจากการใช้บัตรตอกหรือบัตรคีย์การ์ดที่จำเป็นจะต้องใช้เพิ่มเมื่อเรารับพนักงานเพิ่มให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มนั่นเอง

จักรวรรดิรัสเซีย

%e0%b8%98%e0%b8%87

%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%9c%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%99

เมื่อพูดถึงรัสเซีย หลายท่านก็รู้จัก และเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความน่าสนใจอยู่มาก ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยว รัสเซียเป็นประเทศที่มีเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอยู่มากครับ และในเรื่องราวของประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะประเทศไหนก็ตามจะมีเรื่องของผู้นำเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ย้อนกับไปในยุคของผู้นำท่านหนึ่งที่หลายท่านคงเคยได้ยินชื่อ และเราจะขอถือโอกาสนี้กล่าวถึงท่านกันครับ ท่านผู้นี้คือ จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย รัสเซีย

%e0%b9%80%e0%b8%8b%e0%b8%99%e0%b8%9b%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c

 

%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%88%e0%b8%b3%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b9%8c

รัชสมัยของซาร์ปีเตอร์มหาราชจัดเป็นยุคใหม่ในประวัติศาสตร์รัสเซีย ประวัติศาสตร์รัสเซียในสมัยนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า “สมัยจักรวรรดิรัสเซีย” เพราะองค์เจ้าซาร์เป็นผู้สร้างยุคของพระองค์ขึ้นพระองค์ทรงได้เป็นซาร์ตั้งแต่ยังมีพระชันษาเพียง 10 ชันษาเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2225 และในปีนั้นเองพระองค์ก็ต้องได้รับการแต่งตั้งใหม่ให้เป็นซาร์คู่กับพระเจ้าน้องยาเธอต่างพระราชมารดา คือ ซาร์อีวานที่ 5 แห่งรัสเซีย เมื่อซาร์อีวานที่ 5 สิ้นพระชนม์ ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 มหาราชจึงมีพระราชอำนาจโดยแท้จริง ในยุคของพระองค์ทรงขยายอาณาเขตรัสเซียออกไปทางตะวันออกถึงวลาดีวอสตอค และทรงใช้นโยบายสู้ตะวันตก ทรงนำรัสเซียเข้าสู่ยุคใหม่

%e0%b9%81%e0%b8%9c%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88

ต่อมาสมเด็จพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ด้านเศรษฐกิจ การปกครอง ศาสนา สังคม วัฒนธรรม การศึกษา ยังความเจริญแก่รัสเซียตราบจนถึงปัจจุบัน

%e0%b8%88%e0%b8%95%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%aa%e0%b9%81%e0%b8%94%e0%b8%87   %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%87

 

ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนในด้านเศรษฐกิจสมเด็จพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ทรงจัดระบบเศรษฐกิจของประเทศตามระบบพาณิชย์นิยมของตะวันตกโดยการห้ามนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ารัสเซีย และเร่งส่งเสริมอุตสาหกรรมต่างในประเทศ เช่น การผลิตอาวุธ สร้างโรงงานถลุงเหล็ก การทอผ้า การต่อเรือ รองเท้า สบู่ ฯลฯ อีกทั้งยังเปิดประเทศต้อนรับช่างผู้ชำนาญงานสาขาต่างๆ ให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและลงทุนในรัสเซีย ทรงจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมของรัฐเพื่อให้เอกชนดำเนินการ มีการเกณฑ์และบังคับแรงงานชาวไร่ ชาวนาให้ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนกระตุ้นให้พวกชุนนางลงทุนในด้านการค้า ในช่วงระยะเวลาเพียง 20 ปี ในกรุงมอสโกมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกิดขึ้น 200 แห่ง และขนาดเล็กมากกว่า 2500 แห่ง ทรงละเว้นภาษีแก่โรงงานอุตสาหกรรมเอกชน แต่ขณะเดียวกันก็ทรงเพิ่มรายได้แก่รัฐด้วยการจัดเก็บภาษีอื่นๆ ในอัตราที่สูงขึ้น

%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%9b%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c

เศรษฐกิจของรัสเซียโดยรวมมีความแข็งแกร่งกว่าประเทศที่สำคัญหลายประเทศ

2เศรษฐกิจของรัสเซียโดยรวมมีความแข็งแกร่งกว่าประเทศที่สำคัญหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศในเขตยูโรโซนในช่วงปีที่ผ่านมา  ติดตามภาพรวมทางเศรษฐกิจของรัสเซีย ปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางบวกต่อเศรษฐกิจ ความเคลื่อนไหวที่สำคัญในด้านเศรษฐกิจในช่วงปี 2554 และแนวโน้มของเศรษฐกิจรัสเซียในปี 2555 ได้ดังต่อไปนี้ เศรษฐกิจรัสเซียมีอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ร้อยละ 4.1 ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ดี และเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าเศรษฐกิจรัสเซียได้ฟื้นฟู จากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2551ดัชนีทางเศรษฐกิจระดับมหภาคส่วนใหญ่เป็นไปในทางบวก อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับ ร้อยละ 6.1 ซึ่งไม่ต่ำนัก แต่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ 20 ปีของรัสเซีย การกู้ยืมจากต่างประเทศอยู่ในระดับที่ต่ำสุดในหมู่ประเทศ

อุตสาหกรรมชั้นนำและสัดส่วนหนี้สินต่างประเทศเพียงร้อยละ10 ของ GDP ในด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรม รัสเซียสามารถเพิ่มผลผลิตได้ร้อยละ 4.7 เป็นลำดับที่สี่รองจากประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ คือ จีน อินเดีย และเยอรมัน ตามลำดับ ภาคการเกษตรและภาคการก่อสร้าง ต่างมีอัตราการขยายตัวที่สูงขึ้น ในระดับร้อยละ 16.1 และ 4.8 ตามลำดับ ในด้านการค้าระหว่างประเทศ ณ เดือนพฤศจิกายน 2554  รัสเซียได้เปรียบดุลการค้ากับคู่ค้าทั่วโลกรวม 78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และในส่วนการค้ากับประเทศไทย ซึ่งมีมูลค่าอยู่ที่ 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และขยายตัวที่ร้อยละ 147.7 ต่อปี รัสเซียเป็นฝ่ายเสียดุลเล็กน้อย เศรษฐกิจของรัสเซียโดยรวมมีความแข็งแกร่งกว่าประเทศที่สำคัญหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศในเขตยูโรโซนในช่วงปีที่ผ่านมา

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางบวกต่อเศรษฐกิจราคาน้ำมันในตลาดโลกในปีที่ผ่านมา รัสเซียสามารถผลิตและส่งออกน้ำมันมากที่สุดในโลกและด้วยสถานการณ์ด้านน้ำมันของตลาดโลกที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบสูงโดยเฉลี่ย 113 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทำให้รัสเซียสามารถนำเข้าเงินตราจากการส่งออกน้ำมันได้มากถึง 1.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อรวมถึงการส่งออกก๊าซธรรมชาติ ซึ่งรัสเซียก็เป็นผู้ผลิตและส่งออกสูงสุดของโลก ทำให้การค้าระหว่างประเทศมีภาวะเกินดุล และรายได้จำนวนมากจากการส่งออกพลังงานดังกล่าวส่วนหนึ่งถูกนำไปสะสมในเงินสำรองระหว่างประเทศซึ่งปัจจุบันมีมากถึง 500,000 ล้านบาท เป็นอันดับที่สามของโลกรองจากจีนและญี่ปุ่น การบริหารงบประมาณแผ่นดินรัฐบาลได้เน้นการสร้างอุปสงค์ภายในประเทศอย่างต่อเนื่องโดยมุ่งเน้นการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ เพื่อสนับสนุนการลงทุน ทำให้การลงทุนในภาคการผลิตขยายตัวร้อยละ 6 ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลโดยตรงมาจากภาวะเศรษฐกิจระดับมหาภาคที่เอื้ออำนวยและภาคประชาชนมีการใช้จ่ายที่สูง กอร์ปกับมียอดเงินลงทุนไหลเข้าในช่วงปลายปี

“รัสเซีย” ถือเป็นตลาดท่องเที่ยวของไทย

“รัสเซีย” ถือเป็นตลาดท่องเที่ยวเนื้อหอมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคยุโรปของไทย ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวมากถึง 1.9 ล้านคน เมื่อปี 56 ที่ผ่านมา ทำให้กอบโกยรายได้อย่างเต็มไม้เต็มมือ เพราะเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มใช้เงินไม่อั้น เพราะรักการบันเทิงในทุกรูปแบบ ทั้งกิน ทั้งดื่ม ทั้งช้อป ทั้งสปา ล่าสุด “ตลาดรัสเซีย” กลับต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ จากปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทำให้ค่าเงินรูเบิลอ่อนค่าและผันผวนอย่างมากกับทุกสกุลเงินทั่วโลกเช่น เมื่อเทียบกับเงินไทย 1 รูเบิล เท่ากับ 0.60-0.90 บาท ของไทยจากแต่ก่อนอยู่ที่กว่า 1.4 บาท ทำให้การตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศของชาวรัสเซียยากขึ้น เพราะมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น และช่วงนี้รัฐบาลของรัสเซียเองกำลังรณรงค์ให้ชาวรัสเซียท่องเที่ยวภายในประเทศ ประกอบกับระยะหลังไทยเริ่มมีคู่แข่งการท่องเที่ยวของชาวรัสเซียในแถบเอเชียด้วยกันเอง อย่าง “เวียดนาม” แม้ตัวเลขการท่องเที่ยวยังจะไม่สูงมาก อยู่ในหลักแสนคนแต่ก็เริ่มก้าวกระโดดอย่างมีนัย จาก 100,000 คนเริ่มเป็น 400,000 คน ภายในระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากบริษัททัวร์ยักษ์ใหญ่ของรัสเซีย อย่างบริษัท เปกัส ที่แต่ละปีขนนักท่องเที่ยวมาไทยเกือบ 600,000 คนเริ่มหันมาทำตลาดที่เวียดนามมากขึ้น

ล่าสุด… ตัวเลขนักท่องเที่ยวรัสเซียที่เดินทางมาไทยในช่วง 7 เดือน (ม.ค.–ก.ค.) ปี 57 มีจำนวน 1.06 ล้านคน เพิ่มขึ้น 6.54% ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มแบบชะลอตัว จากเดิมที่อยูที่ 10% ขึ้นไป ทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ต้องจัดทัพผู้บริหาร ททท. เดินทางไปกระตุ้นตลาดทองคำอย่างรัสเซียเต็มที่ “ธวัชชัย อรัญญิก” ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มองว่า ตลาดท่องเที่ยวรัสเซีย เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคยุโรป เนื่องจากชาวรัสเซียชื่นชอบไทยอย่างมาก ถือเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับ 3 รองจากตุรกีและอียิปต์ โดยนักท่องเที่ยวมีการใช้จ่ายต่อวันสูงมาก เช่น ปี 56 มีการใช้จ่ายต่อคนต่อวัน เฉลี่ยประมาณ 5,000 บาท ที่ในอนาคตยังมีแนวโน้มเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อหัวได้ เพราะชาวรัสเซีย เป็นกลุ่มเอ็นเตอร์เทน ชอบสังสรรค์ ชอบชอปปิง เร่งเจาะกลุ่มลูกค้า

ทั้งนี้ ททท. ได้กำหนดกลยุทธ์โดยเน้นเจาะกลุ่มตลาดรัสเซียให้เข้มข้นขึ้น โดยเน้นไปที่คุณภาพไม่ใช่ปริมาณ ด้วยการคัดเลือกผลิตภัณฑ์สินค้าให้ตรงตามความต้องการของนักท่องเที่ยว ขณะเดียวกัน ททท. สำนักงานมอสโกได้ออกแอพพลิเคชั่น “เดอะมูซ” เพื่อให้นักท่องเที่ยวชาวรัสเซียค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวกิจกรรมในไทย และยังทำให้ ททท. รู้ข้อมูลว่านักท่องเที่ยวกลุ่มไหน ชื่นชอบกิจกรรมอะไร เช่น สอบถามนักท่องเที่ยวผู้หญิงชาวรัสเซีย ชื่นชอบอะไรในประเทศไทย ส่วนใหญ่ตอบว่า คิดถึงสปา 5 ดาว แหล่งชอปปิง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ทำให้เจาะกลุ่มความต้องการนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น

สินค้าไทยที่มีศักยภาพทำตลาดได้ดีในรัสเซีย

นับตั้งแต่รัสเซียได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก(WTO) อย่างเป็นทางการ ปัจจุบันรัฐบาลรัสเซียมีนโยบายเปิดรับการค้าการลงทุนจากต่างประเทศ และกำลังเดินหน้าเตรียมพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดงานระดับนานาชาติหลายงานในอนาคตอันใกล้ ส่งผลให้ตลาดรัสเซียโดยรวมมีแนวโน้มที่จะมีความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้น ด้วยโอกาสและศักยภาพทางเศรษฐกิจของรัสเซียดังกล่าว สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก ได้เสนอรายการสินค้าไทยที่มีศักยภาพในรัสเซียสำหรับผู้ส่งออกของไทย ที่สำคัญมี ดังนี้

ผลไม้กระป๋องของไทยได้รับความนิยมอย่างสูงและทำตลาดได้ดีในรัสเซีย โดยเฉพาะสับปะรดกระป๋องและผลไม้ต่าง ๆ ซึ่งจุดแข็งอยู่ที่เรื่องคุณภาพที่ดี ความสะดวกในการรับประทาน ราคาไม่แพง และหาซื้อได้ทั่วไป รวมทั้งความใส่ใจของผู้ประกอบการไทยซึ่งต้องปรับปรุงสินค้าให้ตรงตามรสนิยมผู้บริโภคชาวรัสเซียอยู่เสมอ

ยางพาราเป็นสินค้าที่มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นมาก เนื่องจากการขยายตัวขนานใหญ่ของอุตสาหกรรมรถยนต์ในรัสเซีย ซึ่งเป็นผลจากการส่งเสริมโดยภาครัฐ ประกอบกับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากการที่ชาวรัสเซียเริ่มมีกำลังซื้อรถยนต์ในฐานะปัจจัยที่ 5 เพิ่มขึ้น และการที่อุตสาหกรรมอื่นมีแนวโน้มจะหันมาใช้ ยางธรรมชาติมากขึ้น ทั้งนี้ การส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราไทยไปยังรัสเซียยังมีโอกาสจะขยายตัวได้อีกมากดังเห็นได้จากอัตราการใช้รถยนต์ของชาวรัสเซียในปัจจุบันซึ่งยังค่อนข้างต่ำ

อัญมณีและเครื่องประดับของไทยได้รับการยอมรับและเป็นที่ต้องการสูงในตลาดรัสเซียโดยเฉพาะเครื่องประดับเงินของไทยที่มีการนำเข้าอย่างสม่ำเสมอ ไทยยังมีโอกาสจะขยายการส่งออกสินค้าประเภทนี้เข้าสู่รัสเซียได้อีกมากโดยที่ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของรัสเซียมีขนาดใหญ่และมีความต้องการหลากหลาย อีกทั้งมีช่องทางเชิงกลยุทธ์การทำตลาดที่เปิดกว้าง ทั้งการนำเข้าโดยตรงหรือทางอ้อม อาทิ การร่วมธุรกิจกับประเทศยุโรปอื่นเปิดโรงงานผลิตอัญมณีในไทย และส่งกลับเข้ามาขายในยุโรป หรือการร่วมมือประกอบธุรกิจ / ลงทุนกับกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States – CIS) บางประเทศซึ่งได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าในการส่งสินค้าเข้ารัสเซีย ที่ผ่านมา ผู้ส่งออกไทยมีผลประกอบการและมูลค่า การส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่มูลค่าอัญมณีในตลาดนี้ได้เพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก เห็นว่าเพื่อส่งเสริมการค้ากับรัสเซีย ผู้ส่งออกไทยควรเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่จัดขึ้นในรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS อาทิ World Food Expo, Rubber Exhibition, Gems & Jewelry หรือการทำ Business Matching เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการตรงกันทั้งในไทยและรัสเซีย ตลอดจนจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านทางสื่อทั่วไปและสื่อเฉพาะสินค้า ซึ่งรวมถึงสื่อออนไลน์ ทั้งนี้ เพื่อกระตุ้นอุปสงค์ในหมู่ผู้บริโภคให้มากขึ้นด้วย

ผลกระทบอย่างรุนแรงจากราคาน้ำมันร่วงของรัสเซีย

รัสเซียมีทรัพยากรธรรมชาติต่างๆมากมาย

และมีความหลากหลายของแร่ธาตุวัตถุดิบใต้พิภพ ใต้พื้นที่ของรัสเซียมีการสำรวจพบแหล่งแร่น้ำมันและพลังงานต่างๆนับหลายพันแห่ง ถ่านหิน น้ำมันดิบ ก๊าซ แร่อินทรีย์ เทอร์มอล แร่เหล็กทั้งดำ สี และแร่เหล็กหายากชนิดต่างๆ ทองคำ เพชร และธาตุอื่นๆอีกมากมาย รัสเซียครอบครองแหล่งแร่ถ่านหินและแร่อินทรีย์มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดในโลก ประเทศรัสเซียไม่ได้เป็นสมาชิกโอเปกแต่ก็มีน้ำมันมากเป็นอันดับ 2 รองจากแค่ซาอุดีอาระเบีย

ปัจจุบันแต่ละวันรัสเซียผลิตน้ำมันได้มากถึง 9.7 ล้านบาร์เรลแล้ว เป็นการผลิตร้อยละ 12.1 ของการผลิตโลก ส่งออกร้อยละ 11.6 ของปริมาณน้ำมันที่มีการซื้อขายกันทั่วโลก ความที่มีเทคโนโลยีชั้นสูง รัสเซียสามารถวางท่อน้ำมันไปได้ทั่วทั้งใต้ดินและใต้ทะเล รัสเซียไม่ได้ส่งน้ำมันตามท่อไปขายในยุโรปเท่านั้น ท่อน้ำมันของรัสเซียในปัจจุบันทุกวันนี้ ยังแยงใยไปถึงจีน เกาหลี และญี่ปุ่น

ความมั่นคงด้านพลังงานมีความหมายเท่ากับความมั่นคงแห่งชาติของรัสเซีย และไม่รีรอที่จะใช้น้ำมันและก๊าซเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของตน แม้สถานะการเงินของรัสเซียในปัจจุบันจะดูดีกว่า 16 ปีก่อนมาก เห็นได้จากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 2 แสนล้านดอลลาร์ และมีทุนสำรองระหว่างประเทศมากกว่า 4 แสนล้านดอลลาร์ แต่ถ้าธนาคารกลางยังคงขายเงินดอลลาร์เพื่อปกป้องค่าเงินรูเบิล และรัฐบาลรัสเซียยังไม่มีแหล่งรายได้อื่นมาชดเชยส่วนที่ขาดหายไปจากรายได้ด้านพลังงาน อาจนำไปสู่วิกฤตซ้ำรอยเดิมหรือรุนแรงกว่าเดิมได้ นักเศรษฐศาสตร์มองว่าธนาคารกลางรัสเซียอาจต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในเร็วๆ นี้

หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้รัสเซียเผชิญผลกระทบอย่างรุนแรงจากราคาน้ำมันร่วง

เป็นเพราะพึ่งพารายได้จากการส่งออกพลังงานมากเกินไป อุตสาหกรรมดังกล่าวทำเงินได้สูงและไม่ต้องลงทุนด้านวิจัยและพัฒนามากนัก ทำให้ชะล่าใจไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นเพื่อช่วยกระจายความเสี่ยง อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์บางสำนักชี้ว่า แม้ราคาน้ำมันจะดิ่งลง แต่การอ่อนค่าของค่าเงินรูเบิลก็ทำให้รายได้จากอุตสาหกรรมพลังงานในรูปเงินรูเบิลไม่ลดลงมากนัก และอาจช่วยซื้อเวลาให้รัฐบาลหาทางออกหรือวิธีเบี่ยงเบนความสนใจของชาวรัสเซีย

ของฝากที่น่าสนใจในประเทศรัสเซีย

รัสเซียเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีภูมิประเทศครอบคลุมทวีปต่างๆ รัสเซียถูกจัดให้ประเทศหนึ่งที่มีความร่ำรวยที่สุด มีวัตถุดิบจำนวนมากที่เป็นปัจจัยหลักของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้รัสเซียยังส่งออกสินค้าจนมีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
ประเทศรัสเซียนอกจากจะเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติติดอันดับโลกแล้ว ยังมีสินค้าส่งออกที่เป็นเอกลักษณ์ และน่าสนใจ ดังนี้
1.หวีจากไม้เบิร์ช ที่เป็นต้นไม้ประจำชาติของรัสเซีย และรัสเซียเองมีฝีมือในการแกะสลักไม้อยู่แล้ว จึงทำให้ผลิตภัณฑ์จากไม้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ นอกจากนี้หวีจากไม้เบิร์ชยังช่วยให้สุขภาพผมดีอีกด้วย
2.ตุ๊กตาแม่ลูกดก เป็นสินค้ายอดนิยมของประเทศรัสเซีย โดยตุ๊กตาแม่ลูกดกจะวาดเขียนรูปหน้าหญิงสาวรัสเซียหน้าตาน่ารักด้วย ความประณีตของฝีมือช่างวาด นอกจากนี้ยังวาดรูปของบุคคลต่างๆลงไปได้อีกด้วย
3.ผ้าพันคอปลาต๊ก ผู้หญิงในประเทศรัสเซียนิยมผ้าพันคอลวดลายสวยงาม นอกจากใช้เป็นผ้าพันคอแล้วยังเป็นผ้าคลุมไหล่ได้ด้วย โดยผลิตมาจากขนแกะนำมาถักทอ ทำให้ผ้ามีความนุ่ม และอบอุ่น
4.กล่องไม้แลคเกอร์ เป็นผลงานขึ้นชื่อของประเทศรัสเซีย เพราะมีเทคนิคที่ซับซ้อน ด้วยการนำมาทาแลคเกอร์ซ้ำไปซ้ำมาจนมันวับ แล้ววาดรูปนิทานลงบนกล่อง สมัยก่อนจะมีขนาดที่ใหญ่ แต่ในปัจจุบันมีการทำให้เล็กลงเพื่อเป็นของที่ระลึก
5.วอดก้าและคาเวียร์ ในประเทศรัสเซียมียี่ห้อของวอดก้าที่ยอดนิยมอยู่หลายยี่ห้อ มีวอดก้าเกรดดีน่าลองชิมอีกหลายยี่ห้อ นอกจากนี้ยังมีคาเวียร์ก็เป็นของฝากที่ทุกคนนึกถึง และยังมีราคาที่สูง แต่ควรระวังของปลอมด้วย
6.หมวกขนสัตว์ติดดาวแดงหรือช้าบก้าอูชานก้า สินค้ายอดนิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ คุณสามารถหาซื้อได้ทั้งขนสัตว์ปลอมที่มีราคาถูก และขนสัตว์แท้ที่ให้ความอบอุ่นมากกว่าแต่ราคาก็สูงมากเช่นกัน
7.รองเท้าบูทวาเลนกี้ ทำจากขนแกะที่มีความนุ่มและอบอุ่น ซึ่งชาวรัสเซียใส่เพื่อลุยหิมะอาจจะซื้อใส่ขณะท่องเที่ยวอยู่ที่รัสเซียก็ได้หรือซื้อมาเก็บเป็นที่ระลึกของแปลกก็ได้

รัสเซียถูกขนานนามว่าเป็นประเทศที่ผู้หญิงสวยที่สุดในโลก

รัสเซียถูกขนานนามว่าเป็นประเทศที่ผู้หญิงสวยที่สุดในโลกและเซนต์ ปีเตอร์สเบิร์กก็งดงามดุจราชินีแห่งยุโรปด้วยความหนาวเย็น ต้องเดินทางไปช่วงที่เหมาะกับการท่องเที่ยว คือ ช่วงเดือนพฤษภาคม อากาศช่วงนี้จะเย็นสบาย ทิวทัศน์สวยมาก ต้นไม้กำลังผลิดอกเต็มไปหมด กลิ่นหอมตลบไปทั่ว เป็นช่วงที่เรียกว่า “ไวท์ไนท์” เป็นผลจากแสงของพระอาทิตย์เที่ยงคืนการเดินทางไปเที่ยวรัสเซียก็สะดวกมากขึ้น สามารถบินตรงจากกรุงเทพฯ-มอสโก ได้เลย หากอากาศไม่หนาวจัดเกินไป การไปเที่ยวจัตุรัสแดงและพระราชวังเครมลิน พิพิธภัณฑ์และสถาปัตยกรรมเมืองหลวงในรูปแบบทรงยุโรปมีความอลังการและมีเสน่ห์อย่างพลาดไม่ได้ สัมผัสกับความหลายหลากของอารยธรรมแห่งดินแดนหมีขาวเขตภูมิอากาศที่มีความหลากหลาย และแตกต่างระหว่างกันอย่างยิ่ง ทำให้ประเทศรัสเซียมีฤดูหนาวที่ยาวนาน อากาศหนาวจัด รวมทั้งพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ถูกปกคลุมด้วยหิมะเป็นเวลานานถึง 6 เดือนกันเลยทีเดียวนอกจากนี้ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการติดต่อทางธุรกิจและราชการกับชาวรัสเซียคือ ตั้งแต่เดือน กันยายนถึงกลางเดือนธันวาคม และกลางเดือนมกราคมถึงปลายเดือนมิถุนายน ส่วนช่วงเวลาที่เหมาะกับการท่องเที่ยวของคนไทยคือ ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม

ประเทศรัสเซียใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาประจำชาติ ประชาส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้สำหรับคนรัสเซียที่พูดภาษาอังกฤษได้ดีคือ คนที่ทำงานอยู่ในส่วนของโรงแรม บริษัทท่องเที่ยว ไกด์ บริษัทเอกชนของต่างชาติ พ่อค้าแม่ค้าขายของที่ระลึกให้นักท่องเที่ยว ส่วนร้านค้า ห้างสรรพสินค้า แท็กซี่ ต่างต้องใช้คู่มือภาษารัสเซียและภาษามือเข้าช่วยในในการซื้อต่อรองราคาสินค้าต่างๆหรืออาจใช้เครื่องคิดเลขในการต่อรองกันอาหารที่เป็นที่นิยมของชาวรัสเซียนจะเป็นพวก ซุปกะหล่ำแบบดั้งเดิม (Shchi) ซุปบีทรูท (Borsch) สลัดมันฝรั่ง (Stilichnii) สตูว์หมู (Azu) เนื้อตุ๋นในครีมเข้มข้น (Beef Stroganoff) ฯลฯ หรือจะไปลิ้มลองอาหารแบบคอเคซัสตามร้านอาหาร หรือภัตตาคารภายในที่พักในรัสเซียของท่านก็น่าสนใจนะคะ อาทิ อาหารจอร์เจียน อาหารอาร์เมเนียน และอาหารอัสซูเรียน (อาเซอร์ไบจัน) ที่โดดเด่นด้วยรสชาติเผ็ดร้อนแบบตะวันออก อาหารจานเด็ดของเขาได้แก่ เนื้อแกะ และ เนื้อปลาสเตอร์เจียน สำหรับอาหารแป้งประจำชาติของรัสเซียก็คือ แพนเค้ก แพนเค้กที่นี่เป็นได้ทั้งของคาวและของหวานเลย ถ้าเป็นของหวานจะมีเอกลักษณ์ตรงแป้งที่เหนียวนุ่มและมีไส้อยู่ข้างใน ซึ่งมีไส้ให้ท่านได้เลือกชิมอย่างหลากหลาย ส่วนอาหารที่แพงที่สุดของประเทศคือ คาเวียร์ หรือไข่ดำจากปลาสเตอร์เจี้ยน นิยมโปะหน้าแพนเค้ก

รัสเซียนับเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านการลงทุนเพราะเป็นตลาดขนาดใหญ่

ประเทศที่มีอาณาบริเวณตั้งแต่ทางตะวันออกของทวีปยุโรป และทางเหนือของทวีปเอเชีย พื้นที่ 2 ใน 3 ของรัสเซียอยู่ในทวีปเอเชีย มีเทือกเขาอูราลเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างทั้งสองทวีป ประเทศรัสเซียมีพรมแดนติดกับ 14 ประเทศ คือ อาเซอร์ไบจาน เบลารุส จีน เอสโตเนีย ฟินแลนด์ คาซัคสถาน เกาหลีเหนือ ลัตเวีย ลิทัวเนีย มองโกเลีย นอร์เวย์ โปแลนด์ ยูเครน จอร์เจีย และยังมีพื้นที่ติดกับมหาสมุทรอาร์กติกและมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ประเทศรัสเซียเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าของประเทศแคนาดาซึ่งใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และใหญ่กว่าประเทศไทย ราว 33 เท่า แต่เดิมประเทศรัสเซียเป็นสมาชิกของสหภาพโซเวียต เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุด และมีอิทธิพลที่สุดของโซเวียต ปัจจุบันมีเมืองหลวง คือ กรุงมอสโคว

เศรษฐกิจรัสเซียมีอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ร้อยละ 4.1 ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ดี และเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าเศรษฐกิจรัสเซียได้ฟื้นฟูจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2551 ดัชนีทางเศรษฐกิจระดับมหภาคส่วนใหญ่เป็นไปในทางบวก ในด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรม รัสเซียสามารถเพิ่มผลผลิตได้ร้อยละ 4.7 เป็นลำดับที่สี่รองจากประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ คือ จีน อินเดีย และเยอรมัน ตามลำดับ ภาคการเกษตร และภาคการก่อสร้างต่างมีอัตราการขยายตัวที่สูงขึ้นในระดับร้อยละ 16.1 และ 4.8 ตามลำดับ เศรษฐกิจของรัสเซียโดยรวมมีความแข็งแกร่งกว่าประเทศที่สำคัญหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศในเขตยูโรโซนในช่วงปีที่ผ่านมา

ที่ผ่านมารัสเซียสามารถผลิตและส่งออกน้ำมันมากที่สุดในโลก

และด้วยสถานการณ์ด้านน้ำมันของตลาดโลกที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบสูงโดยเฉลี่ย 113 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทำให้รัสเซียสามารถนำเข้าเงินตราจากการส่งออกน้ำมันได้มากถึง 1.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อรวมถึงการส่งออกก๊าซธรรมชาติ ซึ่งรัสเซียก็เป็นผู้ผลิตและส่งออกสูงสุดของโลก ทำให้การค้าระหว่างประเทศมีภาวะเกินดุล และรายได้จำนวนมากจากการส่งออกพลังงานดังกล่าวส่วนหนึ่งถูกนำไปสะสมในเงินสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีมากถึง 500,000 ล้านบาท เป็นอันดับที่สามของโลกรองจากจีนและญี่ปุ่น

รัสเซียมีการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ กฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ

เพื่อการเข้าเป็นสมาชิก WTO ซึ่งจะส่งผลให้การค้าของรัสเซียเปิดเสรี โปร่งใส และคาดการณ์ได้มากขึ้น ทั้งนี้สินค้าที่เข้าเขตแดนรัสเซียจะต้องผ่านศุลกากรและโดยปกติบริษัทรัสเซียที่เป็นคู่ค้าบริษัทต่างชาติจะต้องรับผิดชอบกระบวนการทางศุลกากร ซึ่งพิธีการทางศุลกากรมีลำดับขั้นตอนหลักๆ ได้แก่ สินค้าเข้าที่ด่านศุลกากร ขนถ่ายสินค้า ยื่นเอกสารศุลกากร ยื่นเอกสารอื่นๆ จ่ายภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นๆ จากนั้นสำนักงานศุลกากรอาจจะเรียกตรวจเอกสารจากผู้นำเข้าและส่งออกเพื่อยืนยันสถานะทางกฎหมาย

การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ

การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคมอย่างยั่งยืน ในส่วนการเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างการผลิตและการค้าของประเทศให้ดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน ในการที่จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดมูลค่าเพิ่มในทุกขั้นตอนของการผลิตและการตลาด ในขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงการผสมผสานและความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการเพิ่มผลผลิตอย่างเป็นขบวนการในระดับชาติ การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในกระบวนการทำงาน การแบ่งปันประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่ายในสังคม สนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถพึ่งพาตนเอง รวมถึงการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากธุรกิจขนาดใหญ่ โดยผสมผสานภูมิปัญญาไทยกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ การพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และการปรับปรุงประสิทธิภาพ คุณภาพและความรวดเร็วของบริการโครงสร้างพื้นฐาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาความเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจและสังคมเพื่อบรรลุผลประโยชน์ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน

ในปัจจุบันปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวยังมีประสิทธิภาพต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศักยภาพของคน ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความสามารถด้านการบริหารจัดการ และบริการโครงสร้างพื้นฐานที่คุณภาพไม่ดีพอ การเสริมสร้างให้ปัจจัยเหล่านี้มีคุณภาพและเพียงพอเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่จะทำให้ภาคการผลิตมีความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน การฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยการสร้างเสถียรภาพและความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์โดยอาศัยนโยบายและมาตรการระดับมหภาคโดยลำพัง จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงแนวทางการพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็งต่อธุรกิจพื้นฐานด้านการผลิต การค้า และบริการ

ภาคการผลิตในช่วงที่ผ่านมามีการปรับตัวที่ค่อนข้างช้าเมื่อเปรียบเทียบกับภาวะที่โลกปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่อาศัยฐานความรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนา เนื่องจากประสิทธิภาพการผลิตทั้งในภาคเกษตรและอุตสาหกรรมยังอยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง โดยพืชเกษตรหลักไม่สามารถแข่งขันได้ มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง ขาดการอนุรักษ์ฟื้นฟูอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะที่ดินและทรัพยากรน้ำ ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของฐานการผลิตและเป็นปัญหาต่อเนื่องด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว อีกทั้งสถาบันเกษตรกรยังขาดความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรและภาคการเกษตรโดยรวม

ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีต้นทุนในกระบวนการผลิตสูง เนื่องจากแรงงานขาดทักษะและไม่สามารถปรับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพต่ำ ขาดการออกแบบที่ดี รวมทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกไม่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมีจุดอ่อนในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคการผลิต ขาดการพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนใหญ่ยังอ่อนแอ และขาดกลไกที่จะประสานเชื่อมโยงธุรกิจข้ามชาติในการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน รวมทั้งผู้ประกอบการของไทยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถปรับตัวเพื่อการแข่งขันในตลาดที่มีพลวัตและผันผวนสูงขึ้นได้

สินค้า OTOP สามารถได้รับประโยชน์จากการมีโอกาสส่งสินค้าไปขายในตลาดอาเซียนได้มากขึ้น

การสร้างเสริมโอกาสของสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในอีกทางหนึ่งซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศนั่นคือ ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในเอเซีย การเติบโตของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ทำให้สินค้าเชิงสัญลักษณ์ยังเป็นที่ต้องการของตลาดและยังมีโอกาสทางการตลาด และมากยิ่งไปกว่านั้นประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยังมีความโดดเด่นด้านความแข็งแกร่งทางวัฒนธรรม ดังนั้นการส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียนในการพัฒนาเชิงอนุรักษ์ เอกลักษณ์ งานศิลปหัตถกรรมรวมถึงยกระดับสินค้าหัตถกรรมของประเทศสมาชิกอาเซียนให้มีคุณภาพสากล ก็สามารถทำให้เกิดศูนย์กลางการค้าขายสินค้าหัตถกรรมของภูมิภาคอาเซียนเพื่อการขายในตลาดโลกได้ในอนาคต ปัจจุบันผู้บริโภคในประเทศต่างๆกำลังอยู่ในกระแสบริโภคนิยมสินค้าที่เป็นธรรมชาติ สินค้าที่อิงกับวัฒนธรรม สินค้าที่ส่งเสริมสุขภาพ การมีส่วนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือสินค้าที่ช่วยสนับสนุนชุมชน รวมถึงกระแสความนิยมในความเป็นเอเซีย ดังนั้นสินค้า OTOP สามารถได้รับประโยชน์จากการมีโอกาสส่งสินค้าไปขายในตลาดอาเซียนได้มากขึ้นจากการที่มีประชากรรวมกว่า 590 ล้านคน รวมถึงมีโอกาสในการขยายช่องทางตลาดไปยัง ASEAN+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) และ ASEAN+6 (ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินเดีย) รวมไปถึงสามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติ แรงงานและวัตถุดิบการผลิตที่มีความหลากหลายให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจได้ โดยเฉพาะสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกรวมถึงสินค้าที่ตรงกับความต้องการของตลาดประเทศเพื่อนบ้าน

ดังนั้นจึงเป็นโอกาสทางธุรกิจของผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ต้องเร่งพัฒนาสินค้า ทั้งด้านคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล เพื่อสร้างความเชื่อถือต่อผู้บริโภค โดยผสมผสานวัฒนธรรม ภูมิปัญญากับเทคโนโลยี นวัตกรรม และพัฒนารูปแบบการนำเสนอความโดดเด่น เรื่องราวของสินค้าให้เกิดการรับรู้ต่อผู้บริโภคเพื่อให้เกิดการสร้างคุณค่าในตัวสินค้า สามารถเพิ่มมูลค่าและลดอุปสรรคการแข่งขันทางด้านราคา ให้ความสำคัญและตระหนักถึงการสร้างตรายี่ห้อสินค้าให้เป็นที่ยอมรับ ทั้งนี้ผู้ผลิตจำเป็นต้องกำหนดตำแหน่งทางการตลาดของสินค้าและลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน ศึกษารสนิยมและพฤติกรรมการบริโภค และผลิตสินค้าให้สอดคล้องต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งผู้ผลิตที่ยังไม่มีความชำนาญอาจแลกเปลี่ยนความรู้กับนักการตลาดและนักพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาตนเองจากผู้ผลิตที่ตอบสนองต่อความต้องการระดับท้องถิ่น ให้ยกระดับไปสู่ผู้ผลิตที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในระดับสากล และสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ผลิต OTOP คือ การพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจที่สร้างความน่าเชื่อถือแก่ลูกค้า คู่สัญญา หรือแม้กระทั่งสถาบันการเงิน โดยพัฒนาการบริหารจัดการให้มีมาตรฐานและเป็นระบบ มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและเพิ่มช่องทางการตลาดที่สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย พัฒนาความสามารถในการรองรับคำสั่งซื้อที่มีปริมาณมาก โดยเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตทั้งในรูปแบบกลุ่มที่ผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน และกลุ่มที่ผลิตสินค้าสนับสนุนในห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้อาจเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจต่างๆเพื่อสนับสนุนและเป็นช่องทางการเข้าถึงลูกค้าและเข้าสู่ตลาดอาเซียน อาทิ เครือข่ายนักประชาสัมพันธ์/ส่งเสริมการท่องเที่ยว เครือข่ายผู้ส่งออกสินค้า สมาคมการค้าต่างๆ เป็นต้น

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทย ซึ่งมีเป้าหมายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว โดยให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมือภายในอาเซียนอย่างเสรี รวมถึงการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้นภายในปี 2558 เป็นความท้าทายที่ผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจส่งออก นำเข้า หรือผู้ที่ทำธุรกิจภายในประเทศ ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดย่อม และยังรวมไปถึงผู้ประกอบการระดับชุมชนด้วย ในการที่จะต้องเรียนรู้และปรับตัวรองรับความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากเปิดเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเป็นภัยคุกคามต่อธุรกิจ หรือแสวงหาโอกาสทางธุรกิจที่ท้าท้ายความสำเร็จ